วันอังคาร 6 มิถุนายน 2566
ติดตามเว็บไซต์
หน้าแรก > ผู้ชาย > สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป

สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป

หมวดหมู่ : ผู้ชาย 10 กรกฎาคม 2016 เปิดอ่าน 773 ครั้ง

<p style=”text-align: center;”><img class=”alignnone size-full wp-image-20″ src=”http://demo.thaitheme.com/365/wp-content/uploads/2016/07/pound-414418_640.jpg” alt=”pound-414418_640″ width=”601″ height=”400″ /></p>
การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิต เป็นที่ถกเถียงมานานในหมู่บุคคล สถาบันกฎหมาย และพรรคการเมือง ตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรกของสหภาพยุโรป (EU) ในปี พ.ศ. 2516 ทั้งนี้ การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิกสามารถกระทำได้ตามมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป (สนธิสัญญาลิสบอน) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า รัฐสมาชิกใด ๆ อาจตัดสินใจออกจากสหภาพตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายของรัฐนั้น

ในปี พ.ศ. 2518 การลงประชามติถูกกำหนดให้มีขึ้นในทุกประเทศสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ECC) ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรป การลงประชามติในครั้งนั้นได้ผลว่า ทุกประเทศสมาชิกจะยังคงเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปต่อไป

ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 สหราชอาณาจักรได้ทำการลงมติสมาชิกภาพในสหภาพยุโรป โดยฝ่ายที่ต้องการให้ออกจากสหภาพยุโรปเป็นฝ่ายชนะ

พรรคอนุรักษนิยมชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2558 ไม่นานหลังจากนั้น รัฐสภาก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการลงประชามติ แม้ว่านายกรัฐมนตรีแคเมอรอนจะอยากให้สหราชอาณาจักรยังอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปก็ตาม แต่แคเมอรอนก็ได้ประกาศให้อิสระแก่รัฐมนตรีและส.ส.ของพรรคอนุรักษนิยมในการตัดสินใจตามวิจารณญาณของแต่ละคน และเขายังได้อนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถจัดกิจกรรมสนับสนุนหรือคัดค้านการออกจากสหภาพยุโรปตามอัธยาศัย ตามถ้อยปราศรัยต่อสภาล่างในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนประกาศให้การลงประชามติมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และประกาศกรอบระยะเวลาขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะทำต่อหากการประชามติมีผลว่าให้ออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดสองปีเป็นระยะเวลาในการเจรจาต่อรองและข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป

เปิดอ่าน 773 ครั้ง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

error: No no...